บทความ

พญานาคราชผู้ยิ่งใหญ่...

รูปภาพ
ความย่อ...      ในสมัยพุทธกาล  มีนาคราชตนหนึ่ง ชื่อว่า  เอกรกปัตตะนาคราช  อดีตชาติของนาคราชตนนี้ เคยเป็นภิกษุที่บวชในสมัยก่อนหน้าของพระพุทธเจ้าของเรานี้  ในตอนนั้น ท่านเป็นพระที่ประพฤติตามธรรมวินัยมาก  ครั้งหนึ่งเมื่อท่านกำลังจะข้ามฟากไปอีกฝั่งหนึ่ง ท่านได้กระชากเอาใบตระไคร่น้ำขาดออกจากัน           เมื่อถึงคราวที่ท่านจะมรณภาพ ได้หวนระลึกถึงใบตะไคร่น้ำที่ท่านทำขาด และในตอนนั้นก็ไม่มีภิกษุที่จะแสดงอาบัติ  และท่านก็มรณภาพในขณะที่ท่านยังนึกถึงอาบัติคือการพรากของเขียวออกจากกันนั่นเอง  ท่านปฏิบัติธรรมมา ๒๐,๐๐๐ ปี  ไม่ได้ช่วยอะไรเลย  ก็เกิดเป็นพญานาคราช นามว่า   " เอรกปัตตะนาคราช "  ( นี้เป็นความย่อของพญานาคราช ) บทวิเคราะห์    ในขณะแห่งจิตที่กำลังเคลื่อนออก ซึ่งเรียกว่า จุติจิต นั้น  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  เราจะเห็นได้จากเหตุการณ์หลายครัั้ง คนป่วยไม่สบายที่นอนอยู่โรงพยาบาล มักจะนิมนต์พระให้ไปรับสังฆทาน  หรือญาติก็จะให้ภาวนาก่อนตายว่า  พุทโธ  ...  สัมมา อรหัง  เป็นต้น  ให้นึกถึงคุณของพระรัตนตรัย  เพื่อที่จะให้คนป่วยมีจิตใจที่สงบไปสู่ภพภูมิที่ดี     ดังนั้น เมื่อเรายัง

อุปมาด้วยเต่า... ( กุมโมปมสูตร )

รูปภาพ
       ณ เวลาเย็นวันหนึ่ง มีเต่าเล็มหญ้าที่ริมตลิ่ง แม้สุนัขจิ้งจอก ก็ออกหากินเช่นกัน เต่าเห็นสุนัขจิ้งจอกก็เลยหดหัวและขาเข้ากระดองของตน ไม่เคลื่อนไหว ทำตัวนิ่ง ๆ ไว้         ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเห็นเต่าแต่ไกลเหมือนกัน  จึงเข้าไปหาเต่า ยืนใกล้ ๆ เต่า ด้วยคิดว่า " เมื่อใดเต่านี้โผล่หัวและขาออกมา  เมื่อนั้นเราก็จักงับ แล้วกินเสียให้เสียให้เรียบ "  แต่เต่าตัวนั้นก็ไม่โผล่หัวและขาออกมาเลย  สุนัขจิ้งจอกจึงอารมณ์เสีย เบื่อหน่าย แล้วก็เดินจากไป  ข้อนี้ฉันใด         ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  การที่มารผู้มีบาป เข้ามาใกล้เรา ด้วยคิดว่า  " บางทีเราจะได้โอกาสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของคนเหล่านี้บ้าง "  เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลาย จงคุ้มครองอินทรีย์ อย่าถือรวบ  อย่าแยกถือ  จงสำรวมอินทรีย์เถิด.   บทวิเคราะห์       เมื่ออ่านเนื้อความแห่งกุมโมปมสูตรนี้แล้ว  จะเห็นได้ว่า  พระพุทธเจ้าของเรา ทรงเห็นถึงภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการไม่สำรวม การไม่ระวัง การอยู่โดยความประมาท  หากเราคอยระวังอยู่เสมอ มีสติ ภัยก็ไม่มี ไม่เกิดขึ้น แน่นอน  เหมือนกับเต่าที่หดหัวและขา เมื่อเวลามีภัย ฉะนั้น ฯ      

กลับมาเริ่มต้นอีกครั้ง..หลังจากห่างหายไปเสียนาน

รูปภาพ
คงต้องขออภัยผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง.             หลังจากห่างหายไปนาน อันเนื่องด้วยกิจบางอย่างทั้งการสอนและการทำวิจัยที่ยังคั่งค้างอยู่  บัดนี้คงได้ทำหน้าที่...พระไตรปิฏกวิเคราะห์อีกครั้ง  นะครับ...                                                                                                    พระมหาสุพัตร์  วชิราวุโธ                                                                                              อาจารย์ประจำ สาขาวิชา ปรัชญา

ความจงรัก...และความภักดี

รูปภาพ
ไม่อาจแสวงหาคำพูดใดมาเอ่ยพรรณากับภาพนี้ได้...

แลดูอย่างช้างมอง....ปัจฉิมทัศนะ

แลดูอย่างช้างมอง ...หมายถึง  ทรงหันพระองค์กลับหลังอย่างที่พญาช้างมอง คือ พญาช้างไม่อาจจะเอี้ยวคอมองข้างหลังได้  ต้องหันกลับทั้งตัวฉันใด  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น  เพราะพระอัฏฐิก้านคอเป็นชิ้นเดียวกันไม่มีข้อต่อ จึงไม่อาจจะเอี้ยวพระศอมองข้างหลังได้    การมองครั้งนี้ เรียกว่า ปัจฉิมทัศนะ .. (การมองครั้งสุดท้าย) วิเคราะห์  ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี แล้วถูกมารขอให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน หลังจากนั้น พระองค์เสด็จออกจากเมือง แล้วหันกลับมาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย        เวลานั้นช่างน่าเศร้ายิ่งนักครับ มีแต่ความสลดหดหู่ไปทั่ว เพราะพระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า หลังจากนี้ไปอีก ๓ เดือนก็จะเสด็จปรินิพพานแล้ว         เปรียบเหมือนช่วงเวลานี้ เดือน ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นช่วงเวลาที่น่าเศร้าอีกครั้ง เพราะเราท่านทั้งหลายกำลังจะส่งเสด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ร.๙ ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

ชีวิตต้องดำเนินต่อไป....

ต้องขออภัยท่านผู้อ่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องห่างหายไปเสียนาน สำหรับพระไตรปิฏกวิเคราะห์ เนื่องจากมีกิจธุระอันจำเป็นที่จะต้องสะสางให้เรียบร้อย         และตอนนี้ก็เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว....ก็ขอเชิญชมนะกาละบัดนี้เทอญ...... พระมหาสุพัตร์  วชิราวุโธ

ภิกษุที่มีปกติอยู่คนเดียวและ ภิกษุที่มีปกติอยู่กับเพื่อน..?

รูปภาพ
เรื่องนี้เกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี...    ครั้งนั้น พระมิคชาละภิกษุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า.... ภิกษุชื่อว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว และชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ... พระผู้มีพระภาคเจ้า ตอบว่า.......                         ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม  ยึดติดรูปนั้นอยู่ เกิดความเพลิดเพลิน แล้วก็เกิดความกำหนัด มีเมื่อความกำหนัด ก็มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า "ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน"                     (ภิกษุมีปกติยู่คนเดียวก็ตรงกันข้ามจากข้อความนี้่และจะ                                                                              อธิบายครั้งต่อไป) วิเคราะห์          อายตนะภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ มากระทบกับอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ มากระทบกันเข้า ก็ทำให้เกิดการปรุงแต่ง เมื่อปรุงแต่งก็ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน อยากจะเชยชมสิ่งเหล่านั้นบ่อยๆ ความกำหนัดก็เกิดขึัน ความเพลิดเพลินและความกำหนัดนี่เอง พระพุทธองค์ท่านเรียกว่า อยู่กับเพื