บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

ขนมกุมมาส...

รูปภาพ
ขนมกุมมาส   หมายถึงขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด  เช่น  ขนมด้วง ขนมครก  ขนมตาล  เป็นต้น  พระพุทธเจ้าหลังจากบำเพ็ญทุกกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส วิเคราะห์     น่ากินมาก...ขอสักห่อนะ....... พระธรรมปิฏก.พจนนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, ๒๕๓๗, หน้า ๒๐

กิจที่ควรทำ..

รูปภาพ
กิจที่ควรทำ หมายถึง กิจในอริยสัจ ๔ คือ  การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุแห่งทุกข์  การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์  ๘  ให้เจริญ   วิเคราะห์       พระพุทธองค์ทรงประสงค์กิจที่ควรทำ คือกิจในอริยสัจ ตามที่กล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่ากิจในอริยสัจนั้นเป็นเรื่องของจิต ซึ่งถูกโลภะ โทสะและโมหะ เข้ามาในสภาวะของจิต ทำให้จิตไขว้เขว ออกนอกทาง สำหรับนักปฏิบัติ ซึ่งนักปฏิบัติเองจะต้องรู้จักหน้าที่ ตามเฝ้ามองจิต ตามดูจิต แต่ไม่บังคับจิต..       หากจะปรับเข้ากับชีวิตประจำวัน ได้แก่ การรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง และดีที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เพราะเราไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง ไม่รับผิดชอบหน้าที่ กิจที่ควรทำในบ้านกลับไม่ทำ และอื่นๆอีกมากมาย หากแต่ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว บอกได้เลยว่า....สบายยยย....ขอบอก. ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓

ไปดีแล้ว......

รูปภาพ
สุคโต คือ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ทรงดำเนินรุดหน้าไป ไม่หวนคืนกลับมาหากิเลสที่พระองค์ทรงละได้แล้ว และเมื่อพระองค์เสด็จไปที่ไหน ที่แห่งนั้นก็มีแต่ความสุขทั้งกายและใจ วิเคราะห์       คำว่า สุคโต เป็นอีกหนึ่งพุทธคุณ และเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายเมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว ควรจะดำเนินรอยตามพระศาสดา คือ ไปที่แห่งไหนก็ทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่ชาวบ้าน ให้เกิดแก่หมู่บ้าน เพราะการทำเช่นนี้ ถือว่าประโยชน์นิยมในมุมมองของศาสนา นึกถึงคนส่วนมากที่ได้รับประโยชน์จากการกระทำนี้       หากจะมีบางคน บางกลุ่มไม่พอใจ เพราะเสียผลประโยชน์ ก็จงอย่าละการทำความดี ทำประโยชน์เลย ขออนุโมทนาและให้กำลังใจกับท่านผู้มีจิตและการกระทำที่เป็นสาธารณะทุกท่านนะครับบบบบ... สู้ต่อไป...ทาเคชิ สํ.สฬา ๑๐/๓๔๑/๓๕๘

สาธุ...ขอให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

รูปภาพ
ผู้เว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ   ... ย่อมไปเกิดในสุคติ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากพูดเท็จ ๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด ๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ ๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๘. ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ๙. ไม่มีจิตพยาบาท ๑๐. มีสัมมาทิฏฐิ วิเคราะห์     ความปรารถนาในการทำบุญ สร้างกุศลทุกครั้ง ก็คือ เมื่อได้ละจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ขอให้ไปสู่ภพดี ภูมิดี แต่ในหลักพื้นฐานของความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักพุทธปรัชญาแล้ว การที่มนุษย์เว้นจากสิ่งเหล่านี้ (อกุศล) โลกก็จะสงบสุขขึันเยอะเลย ในมุมมองของพุทธศาสนาแล้ว จะเห็นได้ว่า มนุษย์เมื่ออยู่รวมกันในสังคม ต้องมีกฏกติกา ทั้งคุณธรรม และจริยธรรม ควบคู่กันไป ตรงเข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน..     แต่เพราะความเห็นแก่ตัว... โลกนี้จึงวุ่นวายหนอ....ขัดข้องหนอ ๆ ๆ ๆ........ สํ.สฬา  ๑๐/๓๕๘/๔๐๒

คนที่ควรสรรเสริญ ๒ ประการ

รูปภาพ
ในกาลครั้งนั้น มีผู้ใหญ่บ้านชื่อว่า ราสิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครคือผู้ที่ควรสรรเสริญ.. ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า....ผู้ที่ควรสรรเสริญมีอยู ๓ จำพวกคือ......             ๑. ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม                 ด้วยการงานที่ไม่ผิด            ๒. ผู้ที่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ            ๓. ผู้ที่แจกจ่ายและทำบุญ   วิเคราะห์        ในปัจจุบันนี้ เราทำการงาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการงานนั้น ได้รับเงินทองจากการงานที่ทำนั้น โดยไม่ทุจริต เรียกว่า การแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม (ไม่ใช่เงินทองที่ได้จากการฉกชิงวิ่งราว ปล้น หรือคดโกงใครมา) เมื่อหามาได้ก็จับจ่ายใช้สอย เลี้ยงดูบุตร-ภรรยา ภายในครอบครัว เรียกว่า เลี้ยงดูตนให้อิ่มหนำสำราญ และที่สำคัญ แบ่งทรัพย์เหล่านั้นออกมาสักนิดเพื่อทำประโยชน์แก่คนอื่นเค้าบ้าง เช่น เลี้ยงอาหารกลางวันเด็ก บริจาคเพื่อการกุศล ทำบุญทำทาน บ้าง นี้เรียกว่า แจกจ่ายและทำบุญ ....         การทำอย่างนี้้ พระท่านเรียกว่า เตรียมเสบียงให้กับตัวเอง   เป็นคนที่น่าสรรเสริญยิ่งนัก..นับถือ

ทำชั่วและทำดี...ผลกรรมอยู่ที่ไหน ?

รูปภาพ
ครั้งหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์ ได้ถามปัญหากับพระนาคเสนว่า.... คนทั้งหลายทำกุศลก็ดี ทำอกุศลก็ดีในโลกนี้ ผลกกรรมนั้นอยู่ที่ไหนขอรับ....พระคุณเจ้า พระนาคเสน ตอบว่า   กุศลและอกุศลที่คนทำไว้แล้ว มิได้ไปไหนเลย ยังคงติดตามตัวอยู่เสมอ เหมือนกับ                                   เงาตามตัว พระเจ้ามิลินท์ ถามต่อไปอีกว่า ... เราจะสามารถชี้ตัวกรรมออกมาให้เห็นได้หรือไม่..ประการใด..เจ้าข้า... พระนาคเสน ตอบว่า ชี้ไม่ได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ยังไม่ออกผล ก็ไม่สามารถชี้ได้ว่า ผลอยู่ที่ตรง ไหน ต่อเมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ผลนั้นจึงออกมาให้เห็น วิเคราะห์      ***   คนเรา เวลาทำชั่ว ผลของกรรมชั่วยังไม่ให้ผล ก็คิดว่า ผลของกรรมชั่วไม่มี เวลาต่อมา เมื่อผลของกรรมชั่วให้ผล นั่นแหละเขาจะได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสทีเดียว ความดีก็เช่นกัน...        *** ยิ่งในปัจจุบัน เห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ฯลฯ เห็นทั้งผู้ทำกรรม พร้อมทั้งการได้รับผลแห่งกรรม กรรมในสมัยนี้ ติดจรวดจริงๆ...เพราะฉะนั้น เราท่านทั้งหลาย ควรทำกรรมดีเข้าไว้นะครับ เพราะอย่างน้อยเราทำ เราก็สบายใจ ปลอดโปร่งใจ และชื่นใจ (ยิ่งกว่าอมฮอลล์ รสเย

ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ปรายนสูตร)

รูปภาพ
ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า              คือ..ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ ทางที่ให้ถึงะรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า              คือ...กายคตาสติ       ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้  กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์  พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย   ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้  นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย.... วิเคราะห์       พิจารณาถึงคำสอนบทนี้ มีความลึกซึ้งกินใจมาก พระองค์ทรงชี้ให้พระสงฆ์องค์เณรได้พิจารณาตัวเองให้มากๆ หมั่นดูลมหายใจเข้าออก วัตถุสิ่งของภายนอก วัดวาอารามที่ใหญ่โต เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยหลักของสติปัฏฐาน ๔ อย่าง อยู่ที่ไหนก็ทำได้ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง.............สุดยอดมากกกก      คนเรามีเวลาเท่ากัน ทุกสิ่งทุกอย่าง หน้าที่การงานเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น...หมั่นฝึกไว้นะครับ. สํ.สฬา  ๑๐

ผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ ๒๕ ข้อ (ต่อ)

รูปภาพ
ต่อจากครั้งที่แล้ว... ๑๓. อาจารมิให้ศิษย์เล่นและหัวเราะเล่น (ในที่อันไม่ควร) ๑๔. อาจารย์เห็นศิษย์เป็นโทษ/ห้ามโทษ/อดโทษ ๑๕. อาจารย์มีกิริยาน่าเคารพ ๑๖. กล่าวตักเตือนมิให้ขาดจากการเล่าเรียน ๑๗. อธิบายเนื้อความให้กระจ่างทุกขั้นตอน ๑๘. ไม่ปิดบังอำพรางศิลปวิชา ๑๙. คิดเสมอว่า จะให้ศิษย์รู้ศิลปวิชา ๒๐. คิดเสมอว่า จะไม่ให้ศิษย์เสื่อมจากศิลปวิชา ๒๑. คิดเสมอว่า จะฝึกหัดศิษย์ให้รู้ศิลปวิชา ๒๒. อาจารย์ตั้งเมตตาจิตต่อศิษย์ ๒๓. อาจารย์ไม่ทิ้งศิษย์ เมื่อศิษย์มีอันตราย ๒๔. อาจารย์ไม่ประมาทในกิริยาอาการ/สำรวมระวังเสมอ ๒๕. หากศิษย์ลืมสิ่งที่ศึกษามา อาจารย์พึงยกขึ้นอธิบายอีกครั้ง วิเคราะห์         เนื่องจากเนื้อความที่แล้ว...ความเป็นครูบาอาจารย์ของศิษย์ หน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบนั้นยิ่งใหญ่มาก แต่ถ้าอาจารย์ทำด้วยความเต็มใจ และเต็มใจที่จะทำ ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย โดยเฉพาะการตัั้งเมตตาจิตต่อศิษย์ทุกคน มีความปรารถนาดีเสมอ เป็นทั้งคุณธรรมและจริยธรรมที่อาจารย์ควรมีประจำจิต         "หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง"  (สไปเดอร์แมนเค้าว่างั้น)

สำรวมกาย วาจา ใจ

รูปภาพ
พึงควบคุมความคะนองทางใจ พึงสำรวมใจ พึงละมโนทุจริต พึงประพฤติมโนสุจริต วิเคราะห์     มนุษย์ที่จะสมบูรณ์แบบได้ต้องมีกฏระเบียบของตัวเอง กฏระเบียบที่ว่านี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นกฏระเบียบของกาย วาจา และใจ ของมนุษย์ ผลที่ได้จาก ศีล สมาธิ ปัญญา มีคุณมหาศาลเหลือเกิน     โดยความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เราไม่ค่อยชอบกฏระเบียบเท่าไหร่ พอแหกกฏเมื่อไหร่ รู้สึกว่าสบายใจ (รึว่าไม่จริง) มีหลายกฏระเบียบครับ ทั้งของบ้านเมือง ห้าง ร้าน บริษัท ฯลฯ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่ามีเงื่อนไขเยอะนะครับ... และที่สำคัญเริ่มจากตัวเรามีกฏระเบียบนี่แหละ..(เยี่ยมที่สุดเลย..) ธรรมบทจตุรภาค หน้า ๔๘๔-๔๘๕