บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

ผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ ๒๕ ข้อ

รูปภาพ
ผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ ๒๕ ข้อ  ๑. อาจารย์อุปถัมภ์ศิษย์ เมตตาต่อศิษย์  ๒. อาจารย์รู้ว่าศิษย์คนนี้ควรคบ และไม่ควรคบ  ๓. อาจารย์รู้ว่าศิษย์ประมาท และไม่ประมาท  ๔. อาจารย์รู้ว่าศิษย์จะนอน  ๕. อาจารย์รู้ว่าศิษย์เจ็บไข้  ๖. อาจารย์เอาใจใส่ศิษย์  ๗. อาจารย์รู้คุณวิเศษ  ๘. อาจารย์แจกส่วนอาหารให้ศิษย์  ๙. อาจารย์ปลอบศิษย์ว่าอย่ากลัว  ๑๐. อาจารย์สอนศิษย์ว่า ทำอย่างนี้เจริญ / ทำอย่างนี้ไม่เจริญ  ๑๑. อาจารย์รู้คามูปจาร  ๑๒. อาจารย์รู้วิหารูปจาร วิเคราะห์        ทั้งอาจารย์และศิษย์ต้องมีอุปการต่อกัน การปฏิบัติตัวของศิษย์ต่ออาจารย์ หรืออาจารย์ปฏิบัติตัวตัวศิษย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หากศิษย์ไม่เคารพต่ออาจารย์แล้ว ศิษย์ก็จะไม่ได้ความรู้        แต่ทุกวันนี้ อาจารย์และศิษย์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี มีให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ (แต่ก็มีส่วนน้อย) อย่าคิดอะไรมาก เราผู้เป็นอาจารย์ทำตัวให้น่าเคารพเลื่อมใส ให้ความรู้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่ เต็มความสามารถก็โอเค...แล้ว    (ข้อที่ ๑๓-๒๕ เจอกันในบทความต่อไปนะครับ) มิลินทปัญหา หน้า ๑๘๔

โรคในฤดูสารท

รูปภาพ
โรคในสารท หรือ อาพาธในสารท คือ ไข้เหลือง  (หรือโรคดีซ่าน)  ที่เกิดขึ้นในฤดูสารท  (ฤดูใบไม้ร่วง)  เพราะในฤดูสารทนี้  ภิกษุทั้งหลายเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนบ้าง  เดินย่ำโคลนบ้าง  แสงแดดแผดกล้าบ้าง  ทำให้น้ำดีของภิกษุทั้งหลายขังอยู่แต่ในถุงน้ำดี วิเคราะห์       ปัจจุบันนี้ เรียกว่า โรคไวรัส B ลงตับ  พระที่เดินทางไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย เป็นต้น เป็นโรคนี้มาก เพราะว่าไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับน้ำดื่ม และอาหารที่ฉัน เป็นแล้วจะตาเหลือง หมองคล้ำ ซีดเหลือง มีเส้นเอ็นสะพรั่ง (ตามพระบาลีว่างั้น) รักษาตามคำสั่งของแพทย์      โรคนี้รักษาให้หายได้ แต่โรคใจ (อกหัก รักคุด) รักษาไม่ค่อยหาย ต้องใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งรักษา ดอกไม้ชนิดนี้ เรียกว่า  ดอกไม้จันทร์.........นะครับ วิ.อ.  ๓/๒๖๐/๑๗๓

ยา ๕ อย่าง

รูปภาพ
" พระผู้พระภาคเจ้าทรงอนุญาตเภสัช ๕ อย่าง ได้แก่ เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย   เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกก็ถือกันว่าเป็นยา ให้ประโยชน์ทางโภชนาการ ไม่เป็นอาหารหยาบ รับประเคนแล้วฉันได้ทั้งในกาลและวิกาล " วิเคราะห์       ยา ๕ อย่างนี้ พระองค์ทรงอนุญาตไว้แล้ว และพระภิกษุสามารถฉันได้เลย โดยไม่ต้องรับประเคนซ้ำอีก จะเห็นได้ว่า พระเวลาไปไหนมาไหน เรื่องของอาหารก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง บางครั้งฉันไปก็ไม่เกิดประโยชน์แต่ก็ยังฉัน จึงเกิดโทษ ซึ่งเรียกว่า โรคในฤดูสารท (จะได้อธิบายในบทต่อไป)       ช่วงนี้หน้าร้อน อากาศร้อน และร้อนมาก ต้องระวังเรื่องอาหารให้ดีนะครับ ดื่มน้ำเยอะๆ รักษาสุขภาพให้ดีนะครับ.....เป็นห่วงงงงงงง..... วิ.มหา๒  ๕/๒๖๐/๔๔

ลักษณะของผู้มีสัมปชัญญะ

รูปภาพ
" ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การยืน  การเดิน ฯลฯ การพูด การนิ่ง ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้" วิเคราะห์       ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว สัมปชัญญะนี้ ต่างจากสติ ก็เมื่อเวลาใช้นี่แหละ แต่ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ต้องอยู่คู่กันนะครับ สัมปชัญญะ คือ รู้สึกตัวอยู่เสมอ  ทุกๆเวลา ทุกๆการกระทำ ทุกๆอิริยาบถ เวลาใช้ก็ในขณะนั้นแหละ      ปัจจุบันนี้ถึงมีสำนวนว่า " อย่าลืมตัว เป็นวัวลืมตีน " งัยครับ... โชคดีมีสติสัมปชัญญะทุกท่านนะครับ สํ.สฬา. ๑๐/๒๕๖/๒๘๐

ลักษณะของผู้มีสติ

รูปภาพ
" ภิกษุในะรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ  กำจัดอภิชญาและโทมนัสได้ ฯลฯ  พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ  กำจัดอภิชญาและโทมนัสในโลกได้  ภิกษุมีสติเป็นอย่างนี้แล"    วิเคราะห์         นี้เป็นลักษณะของสติ และผู้ที่มีสติ  โดยเฉพาะความหมายแรก คือ เห็นกายในกายนี้ เป็นอะไรที่ลึกซึ้งกินใจมาก จะดูเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอกเห็นจะคงไม่ใช่แน่นอน ต้องพิจารณามากกว่านั้นแน่นอน เวลาใช้สติ ก็ก่อนทำ และก่อนพูดนะครับ         สมัยนี้ต้องใช้สติเยอะมาก  แถมต้องมีสตังด้วย.... (จึงยอดเยี่ยมไปเลย) สํ.สฬา. ๑๐/๒๕๖/๒๘๐

สติสัมปชัญญะ

รูปภาพ
" ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา  นี้เป็นคำพร่ำสอน  สำหรับเธอทั้งหลายของเรา" วิเคราะห์           คำว่าภิกษุทั้งหลายนั้น อาจจะหมายถึง คฤหัสถ์ หรือ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ ก้ได้ทั้งนั้น เราจะทำอะไร สิ่งไหน เมื่อไร ? ก็ต้องมีธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้ เพราะธรรม ๒ ประการนี้ มีอุปการะต่อการประพฤติธรรมทั้งหมด (ในหัวข้อต่อไปก็จะอธิบายว่าสติ..สัมปชัญญะ คืออะไร)          แต่คนเราทุกวันนี้ ละเว้นและไม่ปฏิบัติ จึงเกิดปัญหาตามมา อย่างที่เห็น ถ้ายังงัยละก็เริ่มต้นตั้งแต่ตัวเรานี่แหละเยี่ยมที่สุด.....            สํ.สฬา. ๑๐/๒๕๖/๒๘๐

คนพาล คือคนเช่นไร ?

รูปภาพ
คนพาล คือ คนเช่นไร ?  คนพาลนั้น ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คือ..... ๑. ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยไม่แยบคาย ๓. ไม่ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป บทวิเคราะห์      สมัยนี้ ยุคนี้ จะดูคนพาลนั้นไม่ยากเลย นอกจากที่พูดไม่ดี คิดไม่ดี และทำไม่ดีแล้ว ก็ยังประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการข้างต้นนั้น      -เวลาถามปัญหา ก็ถามอะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้ประเทืองปัญญาสักนิด เรียกว่า ถามเอามัน....      -เวลาตอบปัญหา ก็ตอบแบบไม่ยั้งคิด ตอบแบบกวนๆ (อวัยวะส่วนล่าง)      -คนอื่นเค้าตอบปัญหาที่เป็นประโยชน์ ก็บอกว่า ไร้สาระ ไม่ถูกใจบ้างละ จิปาถะ..... เพราะฉะนั้น การรู้จักฟังคนอื่น แล้วนำมาพิจารณา น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและส่วนรวม พัฒนาตัวเองและสติปัญญาได้มากขึ้น.... วันนี้ขอนั่นกะบะหลังเลยแล้วกัน เพราะรัฐบาลท่านตั้งปัญหาโดยแยบคายแล้วหละ.... อัง.เอกก ทุก ๑๒/๕/๑๔๓

รากไม้ที่เป็นยา

รูปภาพ
" ภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นยา  คือ   ขมิ้น  ขิงสด  ว่านน้ำ  ว่านเปราะ  อุตพิด  ข่า  แฝก  แห้วหมู  หรือรากไม้ที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่  ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน  รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ  เมื่อมีเหตุจำเป็น  ภิกษุจึงฉันได้  เมื่อไม่มีเหตุ  ภิกษุฉัน  ต้องอาบัติทุกกฏ " วิเคราะห์      เมื่อได้อ่านข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว จะเห็นได้ว่า รากไม้ที่เป็นยามีอยู่มากมาย อย่างขมิ้น ขิงสด อย่างนี้่เป็นต้น มีสรรพคุณในการระบายลมในท้อง แต่ถ้าฉันมากๆ และบ่อยก็จะทำให้มีผลกระทบต่อกระเพาะอาหาร เมื่อเวลามีเหตุจำเป็นจึงฉันได้ ก็คือไม่สบายนั่นเอง  แต่ถ้าสบายดี ไม่ได้เป็นอะไร ก็อย่าฉัน หรือทานให้มากนะครับ.... เดี๋ยวจะไม่สบายเอา       แต่ถ้าไม่สบายใจ... รากไม้เหล่านี้ก็ช่วยไม่ได้ มีอย่างเดียวคือ ต้องไปนอนคุยกับรากไม้นะครับ.... วิ.มหา.(๒) ๕/๒๖๓/๔๖

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.

รูปภาพ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ. ตนแล เป็นที่พึ่งของตน. วิเคราะห์ .        การที่่มนุษย์ได้ทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ต้องอาศัยปัจจัยและทรัพย์สินในภายนอกอยู่แล้ว ไม่ได้อาศัยบุคคลอืนมาคอยช่วยเหลือทุกอย่างไป แต่ว่าทุกวันนี้ เราต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องต่างๆ แต่ก็อย่าลืมว่า ต้องอาศัยตนเองด้วยนะจ้ะ. ขุ.ธ. ๒๕/๒๖